ศูนย์การศึกษา

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน

การทำความเข้าใจการวิเคราะห์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน

การวิเคราะห์ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนสองวิธีหลัก ประกอบด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิค ปัจจัยพื้นฐานเน้นเกี่ยวกับทฤษฎีด้านการเงินและเศรษฐกิจ รวมทั้งการพัฒนาทางการเมือง เพื่อหาแรงอุปสงค์และอุปทาน จุดที่แตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิคก็คือ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะศึกษาสาเหตุของความเคลื่อนไหวของตลาด ในขณะที่การวิเคราะห์ทางเทคนิคศึกษาผลลัพธ์ของความเคลื่อนไหวของตลาด

การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานประกอบด้วยการดูตัวชี้วัดเศรษฐกิจมหภาค ตลาดสินทรัพย์ และข้อพิจารณาทางการเมืองเมื่อประเมินสกุลเงินของประเทศหนึ่งเทียบกับอีกประเทศหนึ่ง ตัวชี้วัดเศรษฐกิจมหภาคประกอบด้วยตัวเลขต่าง ๆ เช่น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีการวัดโดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ อัตราดอกเบี้ย เงินเฟ้อ การว่างงาน ปริมาณเงิน ทุนสำรองระหว่างประเทศ และผลผลิตของประเทศ ตลาดสินทรัพย์ประกอบด้วยหุ้น พันธบัตร และอสังหาริมทรัพย์ ข้อพิจารณาทางการเมืองส่งผลกับระดับความเชื่อมั่นในรัฐบาลของประเทศนั้น เสถียรภาพทางการเมือง และระดับความมั่นคง

บางครั้ง รัฐบาลเข้ามามีบทบาทกับตลาดการเงิน ซึ่งส่งผลกระทบกับค่าเงินของประเทศ โดยเข้าแทรกแซงเพื่อไม่ให้ค่าของสกุลเงินมีการแปรปรวนจากระดับที่ไม่ต้องการ การแทรกแซงค่าเงินถูกดำเนินการโดยธนาคารกลางและมักส่งผลที่ชัดเจน แม้จะมีผลกระทบกับตลาด FX ชั่วคราวก็ตาม ธนาคารกลางสามารถเข้ามาทำการซื้อ/ขายสกุลเงินของตนเทียบกับเงินสกุลอื่นเพียงอย่างเดียว หรือมีส่วนร่วมในการแทรกแซงหลายสกุลร่วมกันโดยร่วมมือกับธนาคารกลางอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลที่เด่นชัดมากขึ้น หรืออีกวิธีหนึ่ง บางประเทศสามารถจัดการขยับสกุลเงินของตัวเองไปในทิศทางที่ต้องการโดยเพียงแค่แนะนำหรือขู่ว่าจะแทรกแซงเท่านั้น รายการต่อไปนี้เป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจหลักของสหรัฐ:

ดุลบัญชีเดินสะพัด

ดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นส่วนสำคัญของข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดที่กว้างที่สุดของการขายและการซื้อสินค้า บริการ การชำระดอกเบี้ย และการโอนเงินระหว่างสองประเทศ ดุลการค้าอยู่ในดุลบัญชีเดินสะพัด โดยทั่วไปแล้ว การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสามารถทำให้ค่าเงินอ่อนลง

ดุลการค้า

ดุลการค้าสะท้อนถึงความแตกต่างระหว่างการส่งออกและการนำเข้าสินค้าของประเทศ ดุลการค้าที่เป็นบวก หรือภาวะเกินดุล เกิดขึ้นเมื่อการส่งออกสินค้าของประเทศมากกว่าการนำเข้า ดุลการค้าที่เป็นลบ หรือภาวะขาดดุล เกิดขึ้นเมื่อมีการนำเข้าสินค้ามายังประเทศมากกว่าการส่งออก

นักเทรดในตลาดฟอเร็กซ์จะติดตามดุลการค้าอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถส่งอิทธิพลต่อตลาดได้ ตัวเลขนี้ถูกใช้เพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในระบบเศรษฐกิจของประเทศหรือภูมิภาคอยู่บ่อยครั้ง การส่งออกไม่เพียงสะท้อนถึงความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แต่ยังแสดงถึงความแข็งแกร่งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในต่างประเทศด้วย แนวโน้มของการนำเข้า สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศ

โดยทั่วไปประเทศที่ดำเนินนโยบายขาดดุลการค้ามาก ๆ มีแนวโน้มที่จะมีค่าเงินที่อ่อน อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ชดเชยได้ด้วยการไหลเข้าของเงินลงทุนที่มาก

ดัชนีสินค้าคงทน

ดัชนีสินค้าคงทนเป็นการวัดคำสั่งซื้อใหม่ที่มีการสั่งโดยผู้ผลิตในประเทศสำหรับการส่งมอบสินค้าคงทนจากโรงงานทันทีและในอนาคต เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงประจำเดือนสะท้อนถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงของคำสั่งเหล่านี้

ดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าคงทนเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของแนวโน้มภาคการผลิต โดยทั่วไปการเพิ่มของคำสั่งซื้อสินค้าคงทนมีความเชื่อมโยงกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและสามารถนำไปสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ซึ่งโดยปกติมีส่วนสนับสนุนให้ค่าเงินแข็งขึ้น

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป็นการวัดกว้าง ๆ ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจรวมทั้งหมด นี่เป็นตัวชี้วัดมูลค่าตลาดของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตขึ้นภายในประเทศหนึ่ง มีการประกาศตัวเลข GDP รายไตรมาส โดยมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากตัวเลขนี้เป็นตัวชี้วัดหลักของความแข็งแกร่งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

รายงาน GDP มีการประกาศ 3 ครั้งด้วยกัน: 1) การประกาศล่วงหน้า (ครั้งแรก); 2) การประกาศเบื้องต้น (การแก้ไขครั้งที่ 1); และ 3) การประกาศครั้งสุดท้าย (การแก้ไขครั้งที่ 2 และเป็นการแก้ไขครั้งสุดท้าย) โดยปกติ การแก้ไขเหล่านี้มีผลกระทบอย่างมากต่อตลาด

โดยปกติ เมื่อตัวเลข GDP สูงจะมีการคาดหมายว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมีผลทางบวกกับสกุลเงิน อย่างน้อยในระยะสั้น ยกเว้นในกรณีที่มีแรงกดดันเรื่องเงินเฟ้อมาเกี่ยวข้องด้วย

นอกเหนือจากตัวเลข GDP ก็มีตัวปรับลดผลิตภัณฑ์ GDP ซึ่งวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าใน GDP รวมและสำหรับส่วนประกอบแต่ละอย่าง ตัวปรับลดผลิตภัณฑ์ GDP เป็นการวัดเงินเฟ้อหลักอีกอย่างหนึ่งควบคู่กับ CPI ตัวปรับลดผลิตภัณฑ์ GDP มีข้อได้เปรียบคือการที่ไม่เป็นตะกร้าสินค้าและบริการที่คงที่ ซึ่งหมายความว่าการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภค หรือการแนะนำสินค้าและบริการใหม่จะมีการสะท้อนในตัวปรับลดผลิตภัณฑ์ด้วย ซึ่งตรงกันข้ามกับ CPI

จำนวนบ้านใหม่ที่กำลังก่อสร้าง

จำนวนบ้านใหม่ที่กำลังก่อสร้างวัดการเริ่มก่อสร้างของที่อยู่อาศัย (บ้านและแฟลต) ในแต่ละเดือน จำนวนบ้านใหม่ที่กำลังก่อสร้างถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นการชี้วัดถึงความเชื่อมั่นโดยทั่วไปทางเศรษฐกิจ กิจกรรมการก่อสร้างในระดับสูงโดยปกติแล้วมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น และสามารถคาดการณ์ได้ว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะสูงขึ้น

ดัชนีราคาผู้บริโภค

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เป็นการวัดเงินเฟ้อ ค่านี้ใช้ระดับเฉลี่ยของราคาตะกร้าสินค้าและบริการที่คงที่ที่ผู้บริโภคใช้จ่าย

CPI เป็นตัวชี้วัดภาวะเงินเฟ้อหลัก เนื่องจากบัญชีการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีค่าเกือบสองในสามของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของ CPI บ่อยครั้งจะตามมาด้วยอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นตัวสนับสนุนให้ค่าเงินแข็งขึ้นในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ถ้ามีปัญหาเงินเฟ้อในระยะยาว ในที่สุดความเชื่อมั่นต่อค่าเงินก็จะถูกทำลาย และเงินก็จะอ่อนค่าลง

การจ้างงานที่เป็นเงินเดือน

รายงานการจ้างงานที่เป็นเงินเดือน (หรือที่รู้จักว่าคือรายงานแรงงาน) ขณะนี้ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจของสหรัฐทั้งหมด โดยปกติจะมีการประกาศในวันศุกร์แรกของเดือน รายงานนี้ให้มุมมองทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม และเป็นการวัดจำนวนคนที่ได้รับค่าจ้างเป็นพนักงานโดยสถานประกอบการธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ในภาคเกษตรและหน่วยงานของรัฐ การเปลี่ยนแปลงการจ้างงานที่เป็นเงินเดือน สะท้อนถึงจำนวนสุทธิของงานใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นหรือหายไปในช่วงเดือน มีการติดตามรายงานการจ้างงานที่เป็นเงินเดือนอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

การเพิ่มขึ้นอย่างมากของการจ้างงานที่เป็นเงินเดือนหมายถึงสัญญาณของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ในที่สุดสามารถนำไปสู่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปมีส่วนสนับสนุนให้ค่าเงินแข็งขึ้น อย่างน้อยที่สุดก็ในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ถ้าคาดว่ามีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อก่อตัวขึ้น ก็อาจทำลายความเชื่อมั่นในระยะยาวของสกุลเงินได้

ดัชนีราคาผู้ผลิต

ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาขายส่งรายเดือน โดยแยกตามสินค้าโภคภัณฑ์ อุตสาหกรรม และขั้นตอนการผลิต

PPI เป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อที่สำคัญ เนื่องจากค่านี้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าในภาคการผลิต - และบ่อยครั้งที่เงินเฟ้อในระดับผู้ผลิตจะส่งผ่านตรงไปยังผู้บริโภค

เกี่ยวกับเรา
แพลตฟอร์ม
ประเภทบัญชี
ข่าวตลาดและการวิเคราะห์
ศูนย์การศึกษา
พันธมิตรและผู้แนะนำ